"โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ"

"โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ"
                    โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบบ่อยและพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ โดยพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ร้อยละ 6.4 และพบอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.5-19.2 ในผู้สูงอายุ                  

                    โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบบ่อยและพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ โดยพบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ร้อยละ 6.4 และพบอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.5-19.2 ในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ความสำคัญของการรักษาโรค ดังกล่าวคือ ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีจะเป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่าง ๆ และทำให้เกิดภาวะทุพลภาพ เช่น ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของหลอดเลือดขนาดเล็ก ทำให้เกิดอาการชาที่ปลายเท้า ตามองเห็นไม่ชัดจากเบาหวานขึ้นตา และโรคเบาหวานไปที่ไตจนทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง และยังเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดอาการอ่อนแรงแบบครึ่งซีกหรือเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต โรคหลอดเลือดแดงปลายเท้าตีบ ซึ่งอาจ เป็นสาเหตุของการเกิด แผลที่เท้า ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานส่วนหนึ่งต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วน เช่น การถูกตัดเท้าหรือขาออกบางส่วน เป็นต้น

ดังนั้นการดูแลและการตั้งเป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวานจึงเน้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ แต่ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุบางกลุ่มอาจไม่ได้ประโยชน์มากนักจากการควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข้มงวด หรือถ้าควบคุมเข้มงวดมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลต่ำในเลือด ซึ่งอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดี โดยทั่วไปเป้าหมายการรักษาเบาหวานในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18-65 ปี กำหนดระดับน้ำตาลสะสมหรือค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) น้อยกว่า 7% กรณีควบคุมเข้มงวดระดับน้ำตาลสะสมควรน้อยกว่า 6.5% และกรณีไม่เข้มงวดมากระดับน้ำตาลสะสมควรอยู่ระหว่าง 7-8% ส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ถ้าร่างกายแข็งแรงดี ช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่มีโรคร่วมรุนแรง แนะนำควบคุมระดับน้ำตาลสะสมน้อยกว่าหรือใกล้เคียง 7.0% ถ้าสภาพร่างกายไม่แข็งแรง เปราะบาง มีโอกาสล้ม หรือเจ็บป่วยรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดขั้นรุนแรง อาจให้ระดับน้ำตาลสะสมหรือค่า HbA1C สูงได้ถึง 8.5% ส่วนการเลือกใช้ยาลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยสูงอายุก็จะแตกต่างจากผู้ใหญ่ทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยสูงอายุมักมียา ที่ได้รับประทานอยู่เป็นประจำหลายชนิด บางรายอาจมีปัญหาเรื่องความจำหรือหลงลืมง่าย ทำให้รับประทานยาผิด และมีความเสี่ยงที่จะเกิดการพลัดตกหกล้มได้ง่าย ถ้าได้รับยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด อาจส่งผลให้เกิดอันตรายรุนแรงตามมาได้ เช่น หมดสติ ชัก เสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคหัวใจอยู่เดิม อาจทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ดังนั้นแพทย์ผู้รักษาจึงพยายามเลือกใช้ยาเบาหวานเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดระดับน้ำตาลต่ำดังกล่าวในผู้สูงอายุ จะเห็นได้ว่าการกำหนดเป้าหมายการรักษาโรคเบาหวานในผู้สูงอายุขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามการควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย นอกเหนือจากการใช้ยาลดระดับน้ำตาลแล้วนั้น ยังจำเป็นต้องปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ทั้งเรื่องการเลือกชนิดอาหารที่รับประทาน กำหนดปริมาณให้เหมาะสมกับวัยสูงอายุ และเหมาะสำหรับผู้เป็นเบาหวานเนื่องจากผู้สูงอายุบางรายอาจมีข้อจำกัดในเรื่องการบดเคี้ยวอาหารเนื่องจากสุขภาพฟัน ควรลดปริมาณอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว แป้ง เส้นก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำรสหวาน และรับประทานผลไม้ในปริมาณที่พอเหมาะไม่มากจนเกินไปในแต่ละวัน

นอกจากนี้การออกกำลังกายก็ยังมีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ แต่ควรเลือกชนิดของการออกกำลังกายให้เหมาะกับวัยสูงอายุ เช่น การเดินเร็ว การรำไท้เก๊ก และการแกว่งแขน เป็นต้น และยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังโดยการตรวจตากับจักษุแพทย์ ตรวจไตโดยการวัดปริมาณโปรตีนที่รั่วออกมาในปัสสาวะ และตรวจเท้าอย่างละเอียดเป็นประจำทุกปี เช่นเดียวกับผู้เป็นเบาหวานทั่วไป ผู้เป็นเบาหวานสูงอายุมักมีโรคร่วมที่สำคัญ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
ผู้สูงอายุบางรายไม่สามารถดูแลตนเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ ผู้ดูแลหรือครอบครัวควรมีบทบาทที่สำคัญ ในการดูแลการรับประทานอาหาร ตรวจเช็กการรับประทานยาให้ถูกต้อง ดูแลการฉีดยา (ถ้ามี) และตรวจติดตามน้ำตาลอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด
โดยสรุปวัตถุประสงค์ในการดูแลโรคเบาหวานในผู้สูงอายุมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังทั้งหลอดเลือดขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตั้งเป้าหมายของระดับน้ำตาลสะสม ที่เหมาะสมโดยจำเป็นต้องประเมินทั้งภาวะทางกาย รักษาโรคร่วมที่ มีอยู่ สภาพจิตใจ ความสามารถในการดำรงชีวิต ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง และให้คำนึงถึงโรคร่วมที่มีอยู่ว่าจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตหรือการดำเนินชีวิตอย่างไร ส่วนการเลือกใช้ยาเลือกให้เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุแต่ละราย ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของยา และผลข้างเคียงเป็นสำคัญ
ข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ.
-------------------------------------
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์.                   
                                           
    
ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.dailynews.co.th/article/663767



อร์รีว่า foreva อาหารเสริม เบาหวาน ถั่งเช่า ผสมโสม เห็ดหลินจือ และกระชายดำ  ช่วยดูแลร่างกายแบบองค์รวม ลดน้ำตาล ลดเบาหวาน ลดความดัน ฟื้นฟููสมรรถภาพร่างกายและชะลอวัย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงกับการป้องกันการลุกลาม

ลดเบาหวานด้วย FOREVA ฟอร์รีว่า